บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
สำหรับการเรียนการสอนในครั้งนี้อาจารย์ให้วานแผน(Plan)การไปจักกิจกรรมให้กับน้องๆที่ซอยเสือใหญ่
โดยแต่ละกลุ่มต้องเขียนโครงการที่จะไปทำในวันที่ 11 เดือนตุลาคมนี้ ซึ่งกลุ่มดิฉัน ก็ได้เขียนโครงการเรื่อง เงาพิศวง
ผู้อนุมัติโครงการ
โครงการ ... เงาพิศวง
หลักการ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นพัฒนาการ(development)ทั้ง 4
ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา
ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน
นอกจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
จึงได้จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงาพิศวง
เกี่ยวกับการทอดเงา
2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาได้เต็มตามศักยาภาพ
3. เป้าหมายเชิงปริมาณ
เด็กปฐมวัยทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรม
วิธีดำเนินการ
กิจกรรม/ขั้นตอนการปฎิบัติ
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
ขั้นวางแผน
- ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
|
ตุลาคม พ.ศ. 2562
|
คณะผู้จัดทำ
|
ขั้นดำเนินการ
- เสนอโครงการ
- ดำเนินการเข้ากิจกรรมวิทยาศาสตร์
|
ตุลาคม พ.ศ. 2562
|
คณะผู้จัดทำ
|
ขั้นประเมินผล
- ประเมินผลโครงการ
|
ตุลาคม พ.ศ. 2562
|
คณะผู้จัดทำ
|
ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ
วันที่ 4 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมในวันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 –11.00 น. ณ
มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม
งบประมาณ
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาว
|
อัญชลี
|
ปัญญา
|
นางสาว
|
ภุมรินทร์
|
ภูมิอินทร์
|
นาย
|
ชัยพฤกษ์
|
ไชยวาสน์
|
นางสาว
|
น้ำเพชร
|
ปิยะคง
|
นางสาว
|
อารีรัตน์
|
ไชยคำ
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กปฐมวัยมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและเงา
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
การประเมินผล
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
|
วิธีการประเมิน
|
เครื่องมือที่ใช้
|
1. เด็กปฐมวัยรั้อยละ 80 มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
|
สังเกต
|
แบบสังเกต
|
2. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
|
สังเกต
|
แบบสังเกต
|
3. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
|
สังเกต
|
แบบสังเกตุ
|
ผู้อนุมัติโครงการ
ดร.จินตนา สุขสำราญ
การประชุมหารือกันระหว่างเพื่อนในกลุ่ม
ปรึกษาเนื้อหาการทำโครงการกับเพื่อน
ขั้นตอนการทําโครงการ มีดังนี้
1.ชื่อโครงการ ต้องเป็นชื่อที่เหมาะสม ชัดเจน ดึงดูดความสนใจ และเฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไร
2.หลักการและเหตุผล เป็นการแสดงถึงปัญหาความจำเป็น
ผู้เขียนโครงการต้องพยายามหาเหตุผลต่างๆเพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาโครงการเห็นความจำเป็น
และความสำคัญของโครงการ เพื่อที่จะสนับสนุนต่อไป
3.วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
เป็นการแสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนให้
ตรงกับปัญหาว่าระบุไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหานั้นๆและต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เป็นไปได้
สามารถวัดได้
4.วิธีดำเนินการ แสดงขั้นตอนภารกิจที่จะต้องทำให้การดำเนินงานตามโครงการและระยะเวลาในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอน
เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ
5.ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
เป็นการระบุเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการและสถานที่ที่จะทำโครงการเพื่อสะดวกในการพิจารณาและติดตามผลของโครงการ
6.งบประมาณ แสดงยอดรวมงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินโครงการแหล่งที่มาและแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
7.ผู้รับผิดชอบโครงการ
ต้องระบุชื่อผู้ที่ทำโครงการ
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุประโยชน์ที่คิดว่าจะได้จากความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ
เป็นการระบุว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบ(effect)หรือมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไรทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณและต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
9.การประเมินผลโครงการเป็นการระบุว่าหากได้มีการดำเนินโครงการแล้ว
จะมีการติดตามดูผลได้อย่างไร เมื่อใด
คำศัพท์
Project โครงการ
Shadow เงา
Objective วัตถุประสงค์
Activities กิจกรรม
Responsible persom ผู้รับผิดชอบ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ฝึกให้มีความรับผิดชอบฝึกการเขียนโครงการ
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเขียนโครงการมีความรับผิดชอบในงาน
ประเมินตัวเอง ตั้งใจเขียนโครงการหาข้อมูลในการเขียนโครงการมีความรับผิดชอบในงานที่อาจารย์สั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น