วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วันที่ 18 เดือน ตุลาคม 2562บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันได้ไปทำกิจกรรมการทดลอง(Trial)ให้น้องที่ศูนย์เสือใหญ่หลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จะมีเด็กตั้งแต่ ชั้นเตรียมอนุบาลคือน้องเล็กที่สุดไปจนถึง อนุบาล 3 ซึ่งเด็กที่นี่น่ารักมากให้ความสนใจ(interest)และมีความใส่ใจในการทำลองแต่ละฐาน ซึ่งฐานการทดลองของเราก็จะมี 3ฐาน ด้วยกัน
1.      ฐานการละลาย(Melting)
2.      ฐาน เงาตุ๊กตาจะทอดยาวเมื่อไหร่
3.      ฐาน ฟองสบู่
หลังจากพาน้องๆทำกิจกรรมเสร็จแล้วก็จะมีอีก 1 กิจกรรมที่ให้น้องๆได้ทำพร้อมกันก็คือการระบายสี(paint)ของปากโดยทำจากกระดาษน้องสามารถนำไปให้คุณพ่อคุณแม่ดูได้ที่บ้าน
            สำหรับการไปทำกิจกรรมในครั้งนี้อาจจะทำออกมาไม่ดีแต่ก็เป็นประสบการณ์(experience)ที่ดีที่เราสมรถนำไปปรับปรุง(Update)ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปนี้ดีขึ้น
ประเมินอาจารย์ อาจารย์พาไปทำกิจกรรมที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจพาเด็กๆทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง ตั้งใจเตรียมอุปกรณ์ทำการทำลองมาทำกิจกรรมให้เด็กๆ

                                                            ภาพกิจกรรม



ระบายสี

ผลงานของน้องๆ


น้องออกกำลังกายก่อนเข้าฐานกิจกรรม

น้องๆนั่งรอเข้าแถว


                                                                เข้าแถวเคารพธงชาติ


ประเมินอาจารย์ อาจารย์ค่อยสังเกตการทำกิจกรรมของนักศึกษาและช่วยสอนวิธีการพูดกับเด็กด้วย
ประเมินเพื่อน เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีอาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมฐานตัวเองอย่างเต็มที่การไปทำกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ได้ประสบการณ์ในการสอนเด็กมาอย่างมากและส่วนที่บกพร่องก็จะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ

วันที่ 11 เดือน ตุลาคม 2562 บันทึกการเรียน ครั้ง ที่ 10



บันทึกการเรียน ครั้ง ที่ 10

สำหรับการเรียนในวันนี้อาจารย์จะพาไปศูนย์เด็กเล็กซอยเสือใหญ่ซึ่งทางศูนย์ไม่สะดวกอาจารย์เลยสอนการพับกระดาษ A 4


ซึ่งจะแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก
ให้พับครึ่งหนึ่งของกระดาษ(paper)อีกทีแต่ส่วนด้านหน้าต้องยาวกว่าส่วนด้านหลัง(back)เพื่อสะดวกในการเปิดเข้าไปดูภาพด้านใน เมื่อพับเสร็จแล้วก็ให้วาดรูป(draw)อะไรก็ได้โดยจะต้องอยู่ตำแหน่ง(Position)เดียวกันและต้องวาดภาพให้มีความแตกต่างกันเล็กน้อย

ดังภาพ

ส่วนที่ 2อาจารย์ให้พับกระดาษอีกครึ่งหนึ่งจากนั้นก็วาดภาพด้านหน้าและด้านหลัง
ดังภาพ

ส่วนที่ 3 ให้ประดิษฐ์ของเล่นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์(science)จากนั้นก็ให้มาอธิบายหน้าชั้นเรียน


เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้อาจารย์ก็ให้สาธิต(demonstration)การทดลองแบบจำลองให้ดูว่าจะไปพูดกับเด็กยังไงวิธีการทำจะทำอะไรเป็นลำดับแรก


ประเมินอาจารย์ อาจารย์พาทำกิจกรรมที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนและเตรียมอุปกรณ์มาทำการทำลอง


วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บทความ



บทความ
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กรวมถึงสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ดังนี้
ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น
ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ
ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก
ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นตลอดจนการใช้คำถาม “อะไร” “ทำไม” และ “อย่างไร”
ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น
ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง
ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน
ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย
ครูจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอย่างไร?

การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น
การเรียนรู้ หน่วยน้ำ ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ
ส่วนการเรียนรู้ หน่วยผลไม้ อาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้ เช่น เงาะจะมีส่วนประกอบคือ เปลือก เนื้อ และมีเมล็ดเดียว สับปะรดประกอบด้วยเปลือก และเนื้อ ไม่มีเมล็ดแต่มีแกนอยู่ส่วนตรงกลาง แตงโมประกอบด้วยเปลือก เนื้อสีแดง และมีเมล็ดหลายเมล็ด
สำหรับการบูรณาการการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมสร้างสรรค์สามารถจัดให้กับเด็กได้ เช่น การเรียนรู้ หน่วยดอก ไม้ สามารถจัดกิจกรรมการทดลองสีจากดอกไม้ในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะได้ เช่น ใช้สีแดงจากดอกกุหลาบ สีเหลืองจากดอกดาวเรือง สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เป็นต้น นอกจากครูจะบูรณาการกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้ในกิจ กรรมประจำวันแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้เป็นการเฉพาะและนำไปจัดเพื่อเป็นกิจกรรมเสริมในช่วงเวลาอื่นๆได้ เช่น จัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ จัดในช่วงตอนพักกลางวันหรือช่วงก่อนเด็กกลับบ้าน ฯลฯ
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เพราะการเรียนรู้ครั้งแรกของเด็กเกิดที่บ้าน จากการที่เด็กมีความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ที่เป็นบิดามารดา ความสัมพันธ์และพฤติ กรรมดังกล่าวจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก จากผลงานการวิจัยของชุลีพร พิศุทธิ์ศุภฤทธิ์ ที่ศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตสูงขึ้นหลังจากที่บิดามารดา ชวนคุย ชวนร้อง ชวนเล่น สอดคล้องกับงานวิจัยของเสาวคนธ์ สาเอี่ยม ที่ศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกสูงขึ้นหลังจากที่พ่อแม่จัดกิจกรรมการเล่นสร้างสรรค์ให้กับลูก ดังนั้น บทบาทของบิดามารดามีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ รวมทั้งทักษะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับแนวทางของผู้ปกครองในการที่จะส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยา ศาสตร์ให้กับลูกที่บ้านควรมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 พ่อแม่ควรสังเกตความสนใจของลูกว่า ลูกมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเรื่องใดบ้าง ซึ่งสามารถพบได้จากการคำพูด การสนทนาในชีวิตประจำวันของลูกกับพ่อแม่
ขั้นที่ 2 สร้างเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่ลูกสนใจ โดยบูรณาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ เช่น ถ้าเด็กสนใจเรื่องการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกไว้ที่บ้าน เด็กอาจจะถามว่าทำไมต้นไม้ที่ปลูกในกระถางกับต้นไม้ที่ปลูกลงดินมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน พ่อแม่ควรใช้การสนทนาและใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เด็กอาจจะสืบค้นโดยการถามบุคคลต่างๆ หรืออาจจะไปสังเกตลักษณะของดินในกระถางและดินที่ใช้ปลูกต้นไม้ตามธรรมชาติว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้พ่อแม่อาจจะช่วยกระตุ้นให้เด็กคิดว่าการเจริญเติบโตของต้นไม้ต่าง ๆ อาจมาจากการดูและรักษาและบำรุง เช่น การรดน้ำต้นไม้ การให้ปุ๋ย ซึ่งในขั้นนี้พ่อแม่ควรจัดประสบการณ์หรือสิ่งแวด ล้อมให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
ขั้นที่ 3 พ่อแม่ควรสรุปความรู้หรือความคิดรวบยอดหลังจากที่เด็กได้ทดลองหรือสืบค้นข้อมูลเพียงพอแล้ว เช่น การอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชจากองค์ประกอบของการดูแลที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การอธิบายหลักการต่างๆควรใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กเรียนรู้ที่บ้านนั้น พ่อแม่ควรนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันมาสอนเด็ก เช่น
การสอนการทดลองเรื่องการระเหยของน้ำและการเกิดฝนจากการปรุงอาหาร
การทดลองเกี่ยวกับพลังงานความร้อนจากการรีดผ้า การตากผ้า
การทดลองเรื่องรุ้งกินน้ำจากการซักผ้า
การทดลองการจม การลอยจากการถนอมอาหารด้วยการทำไข่เค็ม
การทดลองเรื่องอากาศต้องการที่อยู่จากการเป่าลูกโป่ง เพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ในงานวันเกิดหรือวันปีใหม่ ฯลฯ
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่พ่อแม่จัดให้กับลูกที่บ้านควรเป็นกิจกรรมบูรณาการด้วยการใช้สถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการเรียนรู้ให้กับเด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรรู้จักสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ 
เกร็ดความรู้เพื่อครู

ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ บทบาทสำคัญของครูปฐมวัยคือ การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 1 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการทดลองให้พร้อม อีกทั้งยังต้องจัดมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดและทดลองตามหัวเรื่องที่เรียน นอกจากนี้ การใช้คำถามของครูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน


เทคนิคการสอนเด็กปฐมวัย


เทคนิคการสอนเด็กปฐมวัย
การใช้สื่อ ของจริง และของจำลอง
 การใช้ CD-ROM/ VCD ตามหน่วยการเรียนรู้
เทคนิคการสอน - การใช้เพลง - คำคล้องจอง - การใช้เสียงดัง- เบา - การใช้นิทาน
การใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ฝึกเด็กให้มีความอิสระและมีจินตนาการ
 จัดการอบรม ศึกษาดูงาน พัฒนาครูในเรื่องของการพัฒนาสื่อการ สอน


วิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมวัยโดยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร



วิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมวัยโดยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

 ความมุ่งหมายของการวิจัย
 1.เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมวัยทั้งโดยรวมและรายด้านก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
 2.เปรียบเทียบระดับของทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมวัยทั้งโดยรวมและรายก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
 ความสำคัญของการวิจัย
 ผลของการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาประถมวัยได้มีแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กประถมวัยเพิ่มขึ้นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กประถมวัยเรียนรู้จากกระบวนการทำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้สามารถนำไปใช้ในแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กประถมวัยโดยวิธีอื่นๆในลักษณะเดียวกันได้อย่างกว้างขวางขึ้น กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กประถมวัยชายหญิงอายุระหว่างสี่ถึงห้าปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่หนึ่งภาคเรียนที่หนึ่งปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างามอำเภอสนามไชยเขตจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 15 คนโดยมีขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นดังนี้
 1.เลือกนักเรียน 1 ห้องจากจำนวนสองห้องเรียน
2.สุ่มนักเรียนจำนวน 15 คนจากห้องเรียนโดยจับสลากเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย 
ตัวแปลที่ศึกษา
1.ตัวแปรต้นได้แก่การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
 2.ตัวแปรตามได้แก่ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมายข้อมูล
 ขั้นตอนในการดำเนินการ
ขั้นนำ
การทำเครื่องดื่มสมุนไพรด้วยการสนทนาการร้องเพลงการท่องคำคล้องจองปริศนาคำทายหรือการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและสร้างความพร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรม
 ขั้นดำเนินการ
 แนะนำเสริมพาส่งวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมทั้งสร้างข้อตกลงเบื้องต้นในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรจากเด็กเข้ากลุ่มละห้าคนโดยเด็กมีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มก่อนที่จะเริ่มทำเครื่องดื่มสมุนไพรและลงมือปฏิบัติจริงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรโดยในขั้นตอนนี้ครูมีหน้าที่ในการแนะนำและกระตุ้นให้เด็กทักษะในการสังเกตจำแนกและชั่งตวงวัดเมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้ทุกคนแต่ละกุมร่วมกันเก็บอุปกรณ์
และทำความสะอาด
ขั้นสรุป
 เด็กและครูร่วมกันสรุปขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรทบทวนกระบวนการในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรโดยที่ครูใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตุจำแนกชั่งตวงวัดมาคือความหมายข้อมูล
สรุปผลการวิจัย
 หลังจากที่เด็กประถมวัยได้รับจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับดีโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.33 คะแนนเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าในแต่ละด้านทักษะมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นคือด้านการสังเกตุอยู่ในระดับดีมากส่วนด้านการจำแนกการวัดการสื่อความหมายข้อมูลอยู่ในระดับดี
 2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรโดยพบว่าเด็กประถมวัยมีทักษะทางพื้นฐานวิทยาศาสตร์สูงขึ้นมีค่าผลต่างระดับสูง



วันที่ 4 เดือนตุลาคม 2562บันทึกการเรียนครั้งที่ 9



บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
สำหรับการเรียนการสอนในครั้งนี้อาจารย์ให้วานแผน(Plan)การไปจักกิจกรรมให้กับน้องๆที่ซอยเสือใหญ่ โดยแต่ละกลุ่มต้องเขียนโครงการที่จะไปทำในวันที่ 11 เดือนตุลาคมนี้ ซึ่งกลุ่มดิฉัน ก็ได้เขียนโครงการเรื่อง เงาพิศวง


โครงการ ... เงาพิศวง
หลักการ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นพัฒนาการ(development)ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน นอกจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จึงได้จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงาพิศวง เกี่ยวกับการทอดเงา
            2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาได้เต็มตามศักยาภาพ
                     3. เป้าหมายเชิงปริมาณ เด็กปฐมวัยทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรม

วิธีดำเนินการ
กิจกรรม/ขั้นตอนการปฎิบัติ                           
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ขั้นวางแผน
ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ
ขั้นดำเนินการ
เสนอโครงการ
ดำเนินการเข้ากิจกรรมวิทยาศาสตร์

ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้จัดทำ
ขั้นประเมินผล
ประเมินผลโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ

ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ
วันที่ 4 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมในวันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 –11.00 น. ณ มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม
งบประมาณ
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ

                                                                       นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
                                                                      นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
                                                                             นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
                                                                       นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
                                                                       นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ

                                                                         ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                      1. เด็กปฐมวัยมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและเงา
             2. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
การประเมินผล
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ                                                           
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
1. เด็กปฐมวัยรั้อยละ 80 มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
2. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
3. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สังเกต
แบบสังเกตุ




ผู้อนุมัติโครงการ

ดร.จินตนา   สุขสำราญ


การประชุมหารือกันระหว่างเพื่อนในกลุ่ม

ปรึกษาเนื้อหาการทำโครงการกับเพื่อน

ขั้นตอนการทําโครงการ มีดังนี้
1.ชื่อโครงการ ต้องเป็นชื่อที่เหมาะสม ชัดเจน ดึงดูดความสนใจ และเฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไร
2.หลักการและเหตุผล เป็นการแสดงถึงปัญหาความจำเป็น ผู้เขียนโครงการต้องพยายามหาเหตุผลต่างๆเพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาโครงการเห็นความจำเป็น และความสำคัญของโครงการ เพื่อที่จะสนับสนุนต่อไป
3.วัตถุประสงค์/เป้าหมาย   เป็นการแสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนให้
ตรงกับปัญหาว่าระบุไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหานั้นๆและต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เป็นไปได้ สามารถวัดได้
4.วิธีดำเนินการ แสดงขั้นตอนภารกิจที่จะต้องทำให้การดำเนินงานตามโครงการและระยะเวลาในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ
5.ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ เป็นการระบุเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการและสถานที่ที่จะทำโครงการเพื่อสะดวกในการพิจารณาและติดตามผลของโครงการ
6.งบประมาณ แสดงยอดรวมงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินโครงการแหล่งที่มาและแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
7.ผู้รับผิดชอบโครงการ   ต้องระบุชื่อผู้ที่ทำโครงการ
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุประโยชน์ที่คิดว่าจะได้จากความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการระบุว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบ(effect)หรือมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไรทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณและต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
9.การประเมินผลโครงการเป็นการระบุว่าหากได้มีการดำเนินโครงการแล้ว จะมีการติดตามดูผลได้อย่างไร เมื่อใด


คำศัพท์

Project                         โครงการ
Shadow                       เงา
Objective                     วัตถุประสงค์
Activities                     กิจกรรม
Responsible persom    ผู้รับผิดชอบ


ประเมินอาจารย์ อาจารย์ฝึกให้มีความรับผิดชอบฝึกการเขียนโครงการ
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเขียนโครงการมีความรับผิดชอบในงาน
ประเมินตัวเอง ตั้งใจเขียนโครงการหาข้อมูลในการเขียนโครงการมีความรับผิดชอบในงานที่อาจารย์สั่ง

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอของเล่นเป็นรายกลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มของเล่น เรื่องน้ำ ...