วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วันที่ 16 เดือนสิงหาคม 2562 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

              บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

                              วันนี้อาจารย์ให้เรียนรวม เซค 1และ 2 พัฒนาการคือ ตัวบ่งบอกถึงความสามารถของเด็กการจัดการเรียนการสอนต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กและช่วงอายุของเขา
การเรียนการศึกษาปฐมวัยไม่ได้เก่งแค่นักปฏิบัติแต่ต้องเก่งควบคู่กับทฤษฎีด้วย
วันนี้อาจารย์ได้ต่อยอดการมอบหมายงานกลุ่มของวันพุธในสัปดาห์นี้ คือ การหาความหมาย ที่มา ลักษณะ คุณสมบัติ ความสำคัญ ประโยชน์การนำไปใช้ การดูแลรักษา สื่อ ของเล่น
โดยกลุ่ม ดิฉันได้เรื่อง ดิน หิน ทราย

ความสำคัญ
ดินเป็นอาหารของพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเป็นแหล่งกักเก็บความชื้น
หินใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆเช่นอาคารบ้านเรือน
ทรายเป็นส่วนประกอบใช้ในการก่อสร้างสิ่งของต่างๆ
       ที่มา
ดินหินทรายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีลักษณะแตกต่างกัน
      ประโยชน์
หินใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆเช่นอาคารบ้านเรือนใช้ทำรูปแกะสลักใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ชนิดต่างๆใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนทรายสามารถใช้ทำแก้วกระจกยาสีฟัน
ดินใช้ในการเพาะปลูกใช้ประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา
      ลักษณะ
หินเป็นของแข็งมีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็กใหญ่ทรายเป็นของแข็งมีลักษณะรูปร่างเล็กกว่าหิน
ดินมีสามลักษณะได้แก่ ดินเหนียวมีความหนืดมากกว่าดินปกติเมื่อโดนดูดความชื้นออกไปจะกลายเป็นดินที่แข็งตัว
ดินร่วนมีลักษณะร่วนซุยสามารถอุ้มน้ำได้ดี
ดินทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้เลย
      คุณสมบัติ
หินมีความแข็งบางชนิดนำไปประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับมีความทนทาน
ดิน 1.ดินสีมีตั้งแต่สีขาวจนถึงสีดำเข้ม
2.เนื้อสัมผัสของดินมีตั้งแต่แข็งหยาบไปจนถึงเนื้อละเอียดและมีความยืดหยุ่น
ทรายแตกตัวออกมาจากหินมีทั้งความละเอียดน้อยและความละเอียดมาก
การดูแลรักษาดินหินทรายเป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดหมุนเวียนไม่มีวันหมดสิ้น
      สื่อ
เกมจับคู่ภาพเหมือนดินหินทราย
ของเล่น
เดี่ยว
นาฬิกาทราย
เครื่องดัมเบล
เกมส์ XO
ตุ๊กตาล้มลุก
เกมส์ต่อหิน
ของเล่น
กลุ่ม เครื่องกรองน้ำ
แสง


      ที่มา
 แสงเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่ รับรู้ด้วยสายตา ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆโดยมีแหล่งกำเนิดหรือสิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้โดยแยกเป็น3ประเภทได้แก่ 
    • ที่เกิดจากธรรมชาติเช่น ดวงอาทิตย์ ฟ้าผ่า
    •แสงจากสัตว์ เช่นหิ่งห้อย
    •แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเช่น   แสงไฟฉาย  เทียนไข
คุณสมบัติ: มีคุณสมบัติ4ข้อได้แก่  
การเดินทาวเป็นเส้นตรง
การหักเห
การสะท้อน
การกนะตาย
ความสำคัญ/ประโยชน์:แสงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือทำให้มองเห็นเป็นแหล่งให้ความอบอุ่นเป็นแหล่งสร้างอาหารช่วยสร้างวิตามินดีเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูก
โท:การใช้แสงสว่างที่มากเกินไปความจำเป็นมีผลทำให้ส่งผลกระทบตามมาแสงแม้จะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายแต่แดดก็ประกอบไปด้วยรังสียูวีเอยูวีบีและอยู่อยู่ซีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายทำให้เป็นต้อกระจกผิวหนังเสียหาย
ข้อควรระวัง:หลีกเลี่ยงการจ้องมองแสงด้วยตาเปล่า
ป้องกันร่างกายไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรงในช่วงกลางวันที่มีแดดแรงจัดๆ โดยการสวมเสื้อคลุม กางร่ม รือทาครีมกันแดด  
เรื่อง     น้ำ

แหล่งที่มา
1.1มาจากธรรมชาติ
-ฝน
-น้ำตก
-ลำธาร
-มหาสมุทร
-ทะเล
-บึง
1.2มนุษย์สร้างขึ้น
-อ่างเก็บน้ำ
-เขื่อน
-คลอง
-สระว่ายน้ำ

ลักษณะ
2.1 คุณสมบัติ
-ระเหย เปลี่ยนจากของเหลวเป็นไอน้ำ
-เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง เช่น น้ำแข็ง
-มีแรงตึงผิว
-ตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
-เปลี่ยนรูปร่างได้ตามภาชนะที่บรรจุ
-มีจุดเดือด
2.2 สถานะ
-เป็นของเหลว

 ประโยชน์
3.1ใช้เพื่อการอุปโภค
-ใช้ในการเกษตร
-ใช้ขนส่งทางเรือ
-ใช้ในการท่องเที่ยว
-ใช้ในอุตสาหกรรม
-ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
3.2ใช้เพื่อการบริโภค
-ใช้เพื่อดื่ม
-ใช้ในการประกอบอาหาร
3.3เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
-พืช
-สัตว์

 โทษ
4.1เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและเชื้อโรค
4.2น้ำที่ไม่บริสุทธิ์เช่น โค้ก กินมากๆจะทำให้เกิดโรคต่างๆ


การดูแลรักษา
5.1ไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ
5.2ใช้อย่างประหยัด
5.3ปลูกพืชเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ
                                                                            อากาศ


ที่มา
อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
ความสำคัญ มี8อย่าง
1.มีก๊าซบางชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2.มีอิทธิพลต่อการเกิดปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร
3ช่วยปรับอุณหภูมิในน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์
4.ทำให้เกิดลมและฝน
5.มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจและร่างกายและของมนุษย์ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม
6.ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์
7.ช่วยเผาไห้ม วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กไป
8.ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม
การดูแลรักษา"สภาพอากาศ"
-งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอย เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน
-แก้ไข รถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์
-อนุรักษ์ป่าไม้จะช่วยลดภาวะเรือนกระจก
-ปรับเปลี่ยนวิธีการเผาขยะมาเป็นการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่
ลักษณะอากาศ (weather) เป็นเรื่องของความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในช่วงสั้นๆ ซึ่งยากต่อการพยากรณ์ให้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นการมองภาพรวมของสภาพอากาศในระยะเวลาที่ยาวกว่า จึงทำให้ความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ถูกขจัดออกไป


มลพิษทางอากาศ/โทษ

    1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

1.1 เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute sickness or death)      มีสาเหตุมาจากการที่ได้สัมผัสโดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่ความเข้มข้นสูงเข้าสู่ปอด และในบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยและตายนั้นมักจะเป็นพวกผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้วมากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ

1.2 เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง (chronic disease)      การเจ็บป่วยชนิดนี้เป็นผลเนื่องจากการได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นไม่สูงมากนักแต่ด้วยระยะเวลาที่นานมากพอ ที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ

1.3 เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่าง ๆ (physiologycal functions)      ของร่างกายที่สำคัญได้แก่  การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานทางด้านการระบายอากาศของปอด การนำพาออกซิเจนของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การปรับตัวให้เข้ากับความมืดของตา หรือหน้าที่อื่น ๆ ของระบบประสาท เป็นต้น

1.4 เกิดอาการซึ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ (untoward symptoms)                                                                                     ตัวอย่างเช่น อาการระคายเคืองของอวัยวะสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น

1.5 เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (Nuisance) ตัวอย่างเช่น กลิ่น ฝุ่น ขี้เถ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่และจิตใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่เป็นสาเหตุของการโยกย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกหนีปัญหาดังกล่าวก็ได้


2. ผลต่อพืช

2.1 อันตรายที่เกิดกับพืช  หมายถึง ในกรณีที่มีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชและอันตรายดังกล่าวนี้สามารถวัดหรือตรวจสอบได้โดยตรง เช่นPAN ทำอันตรายต่อสปองจี้เซลล์ (spongy cells) O 3 ทำอันตรายโดยเท่าเทียมกันต่อเซลล์ทุกชนิดของใบ SO 2 ทำให้ใบของพืชสีจางลง ใบเหลือง เนื่องจากคลอโรฟีลล์ถูกทำลาย

2.2 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืช หมายถึง กรณีที่การเปลี่ยนแปลงอันวัดได้และทดสอบได้ของพืชซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ใช้สอยของพืชนั้น เช่น ดอกกล้วยไม้เป็นรอยด่าง มีสีจางลงเป็นจุด ๆ เนื่องจากแก๊สอะเซทิลีน

         3. ผลต่อสัตว์

 สัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์กินหญ้า หรือพืชอื่น ๆ ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้ มลพิษทางอากาศที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อปศุสัตว์มากที่สุด ได้แก่ อาร์เซนิกหรือสารหนู ฟลูออรีน ตะกั่ว และแคดเมียม เป็นต้น

         4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน

 โดยกลไกที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัตถุ ได้แก่ การขัดสีของฝุ่นทรายที่มีอยู่ในกระแสลมในบรรยากาศกับวัตถุต่าง ๆ เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรม เป็นเวลานานก็จะทำให้วัสดุสึกกร่อน การตกตะกอนของอนุภาคมลสารลงบนพื้นผิวของวัตถุทำให้เกิดความสกปรก และวิธีการทำความสะอาดหรือกำจัดอนุภาคเหล่านั้นออกก็อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเคมีและการกัดกร่อนระหว่างมลสารกับผิวของวัตถุก็อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ทำให้โลหะผุกร่อน ยางและพลาสติกเปราะและแตก ผ้าเปื่อยและขาด ผิวเซรามิกส์ด้าน เป็นต้น
เรื่องเสียง (กลุ่ม 6)

• ที่มาและแหล่งกำเนิด
เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง
เสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล


• คุณสมบัติของเสียง
เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน


• ประโยชน์ของเสียง
1.ช่วยในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ การพูดคุยกัน
2.ช่วยทำให้เกิดความบันเทิง เช่น เสียงดนตรี เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
3.ประดิษฐ์เครื่องมือ เช่น เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ


• ข้อจำกัดหรือโทษ
1.)การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลา ไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
1.2 การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะ เวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
2.) ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
2.1 เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
2.2 รบกวนการนอนหลับ
2.3 ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
2.4 ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
2.5 เป็นอุปสรรคในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
เรื่องเครื่องกล
ที่มา
ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง เครื่องกลเป็นอุปกรณ์ที่มีพลังขับเคลื่อน
เครื่องกล คือ เครื่องมือที่ช่วยผ่อนแรงหรือ
อำนวยความสะดวก

ประเภท
1.รอก
2.พื้นเอียง
3.ล้อ
4.เพลา

การดูแลรักษา
1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์หล่อลื่น อัตราการพร่องและสภาพ
2. ควร ถ่ายเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หล่อลื่นตามกำหนดที่ผู้ผลิตเครื่องแนะนำ
3. เช็ดให้สะอาดเมื่อใช้เสร็จและนำมาทาน้ำมันหล่อลื่น
4. ควรเก็บไว้ในที่มีอาการเหมาะสมและใช้อย่างถนอม

ข้อควรระวัง
1. ศึกษาถึงกลไกการบังคับเครื่องให้ดีก่อนใช้งาน
2. อุปกรณ์ช่วยต่างๆเช่นครีม ประแจ อย่าว่างเกะกะบนเครื่องขณะทำงาน
3. รักษาพื้นให้สะอาดอย่าให้มีเศษโลหะเพราะเศษโลหะเรานี้เราอาจจะเหยียบลื่นหรืออาจจะตำจนทะลุรองเท้า
4. ขณะเครื่องทำงานอย่าเอื้อมมือข้ามหรือกระทำการอันหนึ่งอันใด ต่อเครื่องที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุได้
5.ควรตีกรอบรอบๆเครื่องเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นเข้ามาใกล้


 ภาพบรรยากาศในห้องเรียน



คำศัพท์ประจำสัปดาห์
1.Light        เเสง
     2.Air          อากาศ
3.Water       น้ำ
4.Sound      เสียง
5.Mechanical      เครื่องกล

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาการสอนดีมาก
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆทั้งใจหาข้อมูลมานำเสนออาจารย์
ประเมินตนเอง เตรียมความพร้อมในการหาข้อมูลมานำเสนออาจารย์


วันที่ 9 สิงหาคม 2562 บันทึกการเรียนครั้ง ที่ 1



                    



                        บันทึกการเรียนครั้ง ที่ 1
วันนี้เป็นวันเรียนคาบแรกของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัน
สอนโดย ดร.จินตนา สุขสำราญ ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้นิเทศก่อนการสอนเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะได้เรียน
และรูปแบบการทำบล็อกที่ดี โดยอาจารย์ได้เปิดตัวอย่างการทำบล็อกให้ดูว่ามีการตกแต่ง การนำสื่อการสอนไปใส่ในตรงไหน และที่สำคัญคือการหาข้อมูลมาใส่บล็อกจะต้องมีแหล่งอ้างอิงที่สามารถเชื่อถือได้
ท้ายคาบอาจารย์ได้มอบหมายงานกลุ่มให้ทำ คือ การหาข้อมูลหัวข้อ ดิน หิน ทราย มาส่งในอาทิตย์หน้k
                                คำศัพท์
1.Education    การศึกษา
2.Childhood      ปฐมวัย
3.Science    วิทยาศาสตร์
4.Experience arrangement    การจัดประสบการณ์
5.Learning    การเรียนรู้

รูปบรรยากาศในห้องเรียน





ประเมินอาจารย์ อาจารย์ใช้เวลาในการสอนได้คุ้มค่ามาก มีความใส่ใจในการสอน
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายเนื้อหา



วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วันที่ 14 เดือนสิงหาคม 2562บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้พูดถึง เรื่องของสมอง สมองของเรามีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ
เด็กช่วงปฐมวัยจึงเหมาะสมกับการพัฒนาสมองสำหรับการสอนเด็กปฐมวัยต้องมีเทคนิคในการสอนในรูปแบบกิจกรรม การใช้ท่าทาง การใช้เนื้อเพลงเป็นสื่อในการสอน สื่อ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
ตัวอย่าง เช่น
การร้องเพลงช้าง จะมีท่าประกอบเพื่อความสนุกสนาน(Have fun)และความคิดสร้างสรรค์
การสอนเด็กปฐมวัยควรสอนจากเรื่องที่ง่ายไปหาเรื่องที่ยาก จากเรื่องไม่ซับซ้อนไปเรื่องซับซ้อน
การยั้งรู้หรือขั้นอนุรักษ์ ทฤษฎีของเพียเจต์ ที่บอกว่าเด็ก จะตอบตามที่ตาเห็น
เช่นการเปรียบเทียบขนาดของแก้วน้ำ ทรงสูง ทรงเตี้ย ถ้าถามเด็กว่าน้ำแก้วไหนมีปริมาณ(volume)มากกว่าเด็กจะตอบทรงสูงเพราะเด็กยังไม่มีเหตุผลจะตอบตามที่ตาเห็น ตามทฤษฎีของเพียเจต์ที่กล่าวไปเมื่อสักครู่
กิจกรรมในห้องเรียน




การเรียกสมาธิในการเรียน ท่านี้สามารถไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ใช้เวลาในการสอนคุ้มมากมีความทุ่มเทในการสอนพยายามทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาการสอนมักจะยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพอยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียนมีความขยันมาเรียนทุกคน
ประเมินตนเอง มีความตั้งใจมาเรียนในทุกๆรายวิชา

คำศัพท์ประจำสัปดาห์

 1.education การศึกษา
 2.childhood ปฐมวัย
 3.science วิทยาศาสตร์
              4.Experience arrangement การจัดประสบการณ์
5.Learning การเรียนรู้


·          

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอของเล่นเป็นรายกลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มของเล่น เรื่องน้ำ ...